วันพฤหัสบดีที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2554

ประวัติอาหารไทย

อาหารไทยขึ้นชื่อได้ว่ามีประวัติมาช้านาน ผู้คนส่วนใหญ่ทั้งในและต่างประเทศ
ต่างนิยมชมชอบในอาหารไทยกันมากมาย โดยเฉพาะชื่อเสียงในด้านความเข้มข้น
และจัดจ้านของรสอาหารที่ติดปากติดใจผู้คนมานับศตวรรษโดยส่วนใหญ่อาหารไทย
จะมีวิธีการประกอบอย่างง่ายๆ และ ใช้เวลาในการทำไม่มากนักโดยเฉพาะทุกครัวเรือน
ของคนไทย จะมีส่วนประกอบอาหารติดอยู่ทุกครัวเรือนไม่ว่าจะเป็น

พริก แห้ง กุ้งแห้ง น้ำปลา กะปิ ส้มมะขาม กระเทียม หัวหอมตลอด จนปลาบ้าง รวมทั้งส่วนประกอบอาหาร
จำพวกผัก และเนื้อสัตว์นานาชนิด เพราะมีวิธี
นำมาประกอบที่มีด้วยกันหลายรูปแบบไม่ ว่าจะเป็น
แกง ต้ม ผัด ยำ รวมทั้งอาหารไทยได้รับอิทธิพลใน
การปรุงอาหารรวมทั้งรูปแบบในการรับประทานอาหาร
ตั้งแต่ อดีต อาทิการนำเครื่องเทศมาใช้ในการประกอบ
อาหารก็ได้รับ อิทธิพลมาจากเปอร์เชียผ่านอินเดีย

หรืออาหารจำพวกผัดก็ได้ รับอิทธิพลมาจากประเทศจีน เป็นต้น เมนูอาหารไทยที่ขึ้นชื่อ
ลือชาหลายชนิดจึงประกอบไปด้วยอาหารมากมายกว่า 255 ชนิดอาหารไทยถือว่ามี
ีลักษณะพิเศษ เนื่องจากประเทศไทยเป็นอู่ข้าว อู่น้ำ มีอาหารตามธรรมชาติที่มีพิเศษ
ตามภูมิอากาศ และภูมิประเทศที่หลากหลายตลอดทั้งปีรวมทั้งคนไทยมีศิลปะอยู่ใน
สายเลือดอยู่แล้ว จึงแสดงออกซึ่งศิลปะวิทยาของคนในรูปแบบการปรุงแต่งและการกิน
อาหารที่มีลักษณะเฉพาะ ตั้งแต่เรื่องการผสมกลมกลืนในการปรุงแต่งรูป รส กลิ่น
ให้กลมกล่อมอร่อยและรสจัดอย่างโดดเด่นเป็นพิเศษในเรื่องการจัดรูปแบบและ

น้ำพริก + เครื่องแกง

เครื่องแกง
ถือเป็นหนึ่งในวัตถุดิบที่สำคัญมากอย่างหนึ่งในการปรุงอาหารไทย ซึ่งใช้ประกอบอาหารมากมายหลายประเภทด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นอาหารประเภทแกง, ผัด และอื่นๆ เครื่องแกงที่ใช้เป็นประจำในการประกอบอาหารไทยนั้นมีหลายอย่าง โดยแตกต่างกันในด้านของวัตถุดิบที่นำมาผสมทำเป็นเครื่องแกงและวัตถุประสงค์ในการนำเครื่องแกงนั้นไปประกอบอาหาร

น้ำพริกแกงคั่ว

น้ำพริก + เครื่องแกง : น้ำพริกแกงคั่ว



ส่วนผสม น้ำพริก + เครื่องแกง :

• พริกแห้งเม็ดใหญ่ แกะเมล็ดออกแช่น้ำให้นุ่ม 5 เม็ด

• เกลือป่น 1 ช้อนชา

• ข่าแก่หั่นละเอียด 1 ช้อนชา

• ตะไคร้ซอย 1 ช้อนโต๊ะ

• กระเทียม 20 กลีบ

• หอมแดงซอย 10 หัว

• กะปิ 1 ช้อนชา

น้ำพริกแกงกะหรี่

น้ำพริก + เครื่องแกง : น้ำพริกแกงกะหรี่




ส่วนผสม น้ำพริก + เครื่องแกง :

• ลูกผักชีคั่ว 1 ช้อนโต๊ะ

• ยี่หร่าคั่ว 1 ช้อนชา

• หอมแดงเผา 5 หัว

• กระเทียมเผา 10 กลีบ

• พริกแห้งเม็ดใหญ่ แกะเมล็ดออกแช่น้ำให้นุ่ม 3 เม็ด

• เกลือป่น 1 ช้อนชา

• ขิงหั่นละเอียดคั่ว 1 ช้อนชา

• ข่าแก่หั่นละเอียดคั่ว 1 ช้อนชา

• ตะไคร้ซอย 1 ช้อนโต๊ะ

• ผงกะหรี่ 2 ช้อนชา

• กะปิ 1 ช้อนชา

น้ำพริกแกงส้ม

น้ำพริก + เครื่องแกง : น้ำพริกแกงส้ม




ส่วนผสม น้ำพริก + เครื่องแกง :

• พริกแห้งเม็ดใหญ่สีแดง แกะเมล็ดออกแช่น้ำให้นุ่ม 6 เม็ด

• หอมแดงซอย 3 ช้อนโต๊ะ

• เนื้อปลานึ่งหรือกุ้งนึ่ง 50 กรัม

• เกลือป่น 1 ช้อนชา

• น้ำพริกเผา 1 ช้อนชา

น้ำพริกแกงมัสมั่น

น้ำพริก + เครื่องแกง : น้ำพริกแกงมัสมั่น



ส่วนผสม น้ำพริก + เครื่องแกง :

• พริกแห้งเม็ดใหญ่ แกะเมล็ดออกแช่น้ำให้นุ่ม 3 เม็ด

• เกลือป่น 1 ช้อนชา

• ข่าแก่หั่นละเอียดคั่ว 1 ช้อนชา

• ตะไคร้ซอยคั่ว 1 ช้อนโต๊ะ

• กระเทียมเผา 2 หัว

• หอมแดงเผา 5 หัว

• ลูกผักชีคั่วป่น 1 ช้อนโต๊ะ

• ยี่หร่าคั่วป่น 1 ช้อนชา

• พริกไทยป่น 1 ช้อนชา

• กานพลูคั่วป่น 2 ดอก

• กะปิ 1 ช้อนชา


น้ำพริก + เครื่องแกง : น้ำพริกแกงพะแนง




ส่วนผสม น้ำพริก + เครื่องแกง :

• พริกแห้งเม็ดใหญ่ แกะเมล็ดออกแช่น้ำให้นุ่ม 5 เม็ด

• เกลือป่น 1 ช้อนชา

• ข่าแก่หั่นละเอียด 1 ช้อนชา

• ตะไคร้ซอย 1 ช้อนชา

• ผิวมะกรูดหั่นละเอียด ½ ช้อนโต๊ะ

• รากผักชีหั่นละเอียด 1 ช้อนชา

• กระเทียมซอย 10 กลีบ

• หอมแดงซอย 5 หัว

• พริกไทยป่น 1/2 ช้อนชา

• กะปิ 1 ช้อนชา

เครื่องแกง

เครื่องแกงถือเป็นหนึ่งในวัตถุดิบที่สำคัญมากอย่างหนึ่งในการปรุงอาหารไทย ซึ่งใช้ประกอบอาหารมากมายหลายประเภทด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นอาหารประเภทแกง, ผัด และอื่นๆ เครื่องแกงที่ใช้เป็นประจำในการประกอบอาหารไทยนั้นมีหลายอย่าง โดยแตกต่างกันในด้านของวัตถุดิบที่นำมาผสมทำเป็นเครื่องแกงและวัตถุประสงค์ในการนำเครื่องแกงนั้นไปประกอบอาหาร


แนะนำ

การปรุงอาหารไทย
จะใช้วิธีการปรุงที่สั้นและรวดเร็ว ทำให้พืชผักและสมุนไพรที่ใช้ประกอบอาหารยังคงมีสีสันสวยงาม กรอบ และไม่เสียรสชาติดั้งเดิม รวมถึงสิ่งที่สำคัญคือคุณค่าทางโภชนาการของอาหารที่ยังคงครบถ้วน ส่วนประกอบหลักของการปรุงอาหารไทยได้แก่ พืชผัก สมุนไพรพื้นเมืองต่งๆ ซึ่งนอกจากจะช่วยให้อาหารมีกลิ่นหอมต่างจากอาหารของชนชาติอื่นๆแล้ว สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ คุณค่าทางโภชนาการและสรรพคุณทางยาตามตำรับแพทย์แผนไทยของสมุนไพรและผักต่างๆเหล่านี้ ซึ่งส่งผลให้ชาวต่างชาติรู้ถึงประโยชน์ และกล่าวขานถึงอาหารไทยที่นอกจากจะเด่นในเรื่องรสชาติแล้ว ยังเป็นอาหารที่ดีต่อสุขภาพของผู้บริโภคอีกด้วย



อาหารไทยหนึ่งมื้อจะประกอบด้วยการผสมผสานอาหารหลายๆประเภทในมื้อเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นแกง, น้ำแกง, กับข้าวประเภทผัด, น้ำพริก เครื่องจิ้มผักสด และยำประเภทต่างๆ ซึ่งรสชาติอาหารเหล่านี้จะมีทั้งเผ็ดร้อนและกลมกล่อมผสมผสานกัน เพื่อให้ผู้บริโภคได้เลือกตามความพอใจ

เกี่ยวกับอาหารไทย ไทย เอามาฝากครับ

อาหารไทยกลายเป็นอาหารที่นิยมทั่วโลกเนื่องจากรสชาติที่เป็นเอกลักษณ์ ซึ่งเกิดจากการผสมผสานอย่างกลมกล่อมของรสหวาน รสเปรี้ยว และรสเค็ม นอกจากนั้นยังมีรสเผ็ดร้อนของพริกที่เพิ่มรสชาติอาหารไทยให้เป็นที่นิยมของชนทุกชั้น ทั้งคนไทยและผู้บริโภคชาวต่างชาติทั่วโลก





อาหารไทยได้รวบรวมสุดยอดศิลปะการปรุงอาหารของชาวเอเชียตะวันออก ไม่ว่าจะเป็นการปรุงอาหารแบบซีฉวนของจีน, การปรุงอาหารเขตเมืองร้อนของชาวมาเลย์, การปรุงอาหารด้วยกะทิอันมีต้นกำเนิดจากอินเดียตอนใต้ และ การใช้เครื่องเทศในการปรุงอาหารของชาวอาราเบีย ศิลปะการปรุงอาหารไทยที่มีต้นกำเนิดจากการผสมผสานของศิลปะการปรุงอาหารที่หลากหลายเหล่านี้ได้รับการประยุกต์โดยใช้ สมุนไพรพื้นเมืองที่สมบูรณ์ภายในประเทศ ไม่ว่าจะเป็น ผักชี, พริก, พริกไทย, เครื่องเทศอื่นๆ ผลที่ได้คือรูปลักษณ์อาหารที่ชวนให้น่า้รับประทาน ขณะที่ใช้เนื้อสัตว์ปรุงอาหารในปริมาณจำกัด และเน้นคุณค่าของสมุนไพรและผักสดต่างๆ ทำให้อาหารไทยอร่อยทั้งรสชาติ, สารอาหารครบถ้วนและดีต่อสุขภาพของผู้บริโภค

วันจันทร์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2554

ประวัติความเป็นมาของขนมไทย

ประวัติความเป็นมาของขนมไทย


" ข้าวนม " " เข้าหนม " " ข้าวหนม " ล้วนเป็นคำอันเป็นที่มาของคำว่า "ขนม" ซึ่งมีผู้สันทัดกรณีหลายท่านตั้งข้อสันนิษฐานไว้ เริ่มตั้งแต่คำแรก "ข้าวนม" ที่นักคหกรรมศาสตร์หลายท่านบอกต่อ ๆ กันมาว่าน่าจะมาจากคำคำนี้ เนื่องจากขนมมีอิทธิพลมาจากอินเดียที่ใช้ข้าวกับนมเป็นส่วนผสมสำคัญที่สุดในการทำขนมแต่ก็ไม่น่าจะเป็นไปได้ เนื่องจากนมไม่มีบทบาทสำคัญในขนมไทยเลย ขนมไทยใช้มะพร้าวหรือกะทิทำต่างหาก

สำหรับ "เข้าหนม" นั้น พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นจรัสพรปฏิญาณได้ทรงตั้งข้อสันนิษฐานไว้ว่า "หนม" เพี้ยนมาจาก "เข้าหนม" เนื่องจาก "หนม" นั้นแปลว่าหวาน แต่กลับไม่ปรากฏความหมายของ"ขนม" ในพจนานุกรมไทย มีเพียงบอกไว้ว่าทางเหนือเรียกขนมว่า "ข้าวหนม" แต่ถึงอย่างไรก็ไม่พบความหมายของคำว่า "หนม" ในฐานะคำท้องถิ่นภาคเหนือเมื่ออยู่โดด ๆ ในพจนานุกรมเช่นกัน

อีกข้อสันนิษฐานหนึ่งก็นับว่าน่าสนใจไม่น้อย คำว่า "ขนม" อาจมาจากคำในภาษาเขมรว่า "หนม" ที่หมายถึงอาหารที่ทำมาจากแป้ง เมื่อลองพิจารณาดูแล้วพบว่าขนมส่วนใหญ่ล้วนทำมาจากแป้งทั้งนั้น โดยมีน้ำตาลและกะทิเป็นส่วนผสม ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่า "ขนม" เพี้ยนมาจาก "ขนม" ในภาษาเขมรก็เป็นได้

ไม่ว่าขนมจะมีรากศัพท์มาจากคำใดหรือภาษาใด ขนมก็ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในสังคมไทยด้วยฐานะของขนมไทยอย่างเต็มภาคภูมิ และคนไทยเองก็ได้ชื่อว่าเป็นชนชาติหนึ่งที่ชอบกินขนมเป็นชีวิตจิตใจ

หลักฐานเก่าแก่ที่สุดที่แสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างขนมไทยกับคนไทยก็คือวรรณคดีมรดกสุโขทัยเรื่องไตรภูมิพระร่วง ซึ่งกล่าวถึงขนมต้มที่เป็นขนมไทยชนิดหนึ่งไว้

ขนมไทยเริ่มแพร่หลายมากขึ้นในสมัยอยุธยา ดังปรากฏข้อความในจดหมายเหตุหลายฉบับ บางฉบับกล่าวถึง "ย่านป่าขนม" หรือตลาดขนม บางฉบับกล่าวถึง "บ้านหม้อ" ที่มีการปั้นหม้อ และรวมไปถึงกระทะ ขนมเบื้อง เตาและรังขนมครก แสดงให้เห็นว่าขนมครกและขนมเบื้องนั้น คงจะแพร่หลายมากจนถึงขนาดมีการปั้นเตาและกระทะขาย บางฉบับกล่าวถึงขนมชะมด ขนมกงเกวียนหรือขนมกง ขนมครก ขนมเบื้อง ขนมลอดช่อง จนถึงสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช อันถือได้ว่าเป็นยุคทองของการทำขนมไทย ดังที่จดหมายเหตุฝรั่งโบราณได้มีการบันทึกไว้ว่า การทำขนมในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชนั้นเจริญรุ่งเรืองมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อชาวโปรตุเกสอย่างท่านผู้หญิงวิชาเยนทร์หรือบรรดาศักดิ์ว่า ท้าวทองกีบม้า ผู้เป็นต้นเครื่องขนมหรือของหวานในวัง ได้สอนให้สาวชาววังทำของหวานต่าง ๆ โดยเฉพาะได้นำไข่ขาวและไข่แดงมาเป็นส่วนผสมสำคัญอย่างที่ทางโปรตุเกสทำกัน ขนมที่ท่านท้าวทองกีบม้าทำขึ้นและยังเป็นที่นิยมจนถึงปัจจุบันก็ได้แก่ ขนมทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง ขนมหม้อแกง และรวมไปถึง ขนมทองโปร่ง ขนมทองพลุ ขนมสำปันนี ขนมไข่เต่า ฯลฯ

ล่วงจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ จดหมายเหตุความทรงจำของกรมหลวงนรินทรเทวี ผู้ทรงเป็นพระเจ้าน้องยาเธอในสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช กล่าวไว้ว่าในงานสมโภชพระแก้วมรกตและฉลองวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ได้มีเครื่องตั้งสำรับหวานสำหรับพระสงฆ์ ๒,๐๐๐ รูป ประกอบด้วย ขนมไส้ไก่ ขนมฝอย ข้าวเหนียวแก้ว ขนมผิง กล้วยฉาบ ล่าเตียง หรุ่ม สังขยา ฝอยทอง และขนมตะไล

ในกาพย์ห่อโคลงเห่เรือชมเครื่องคาวหวาน บทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ได้กล่าวชมเครื่องหวานหรือขนมไทยหลายชนิดด้วยกัน อาทิ ข้าวเหนียวสังขยา ขนมลำเจียก ขนมทองหยิบ ขนมทองหยอด ขนมผิง ขนมรังไร ขนมช่อม่วง ขนมบัวลอย ฯลฯ

ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีการพิมพ์ตำราอาหารออกเผยแพร่ การทำขนมไทยก็เป็นหนึ่งในตำราอาหารไทยนั้น จึงนับได้ว่าการทำขนมไทยและวัฒนธรรมขนมไทย เริ่มมีการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรอย่างมีระบบระเบียบในสมัยรัชกาลที่ ๕ นี้เอง แม่ครัวหัวป่าก์เป็นตำราอาหารไทยเล่มแรก ประพันธ์โดยท่านผู้หญิงเปลี่ยน ภาสกรวงศ์ ในตำราอาหารไทยเล่มนี้ปรากฏรายการสำรับของหวานเลี้ยงพระอันประกอบด้วย ขนมทองหยิบ ขนมฝอยทอง ขนมหม้อแกง ขนมหันตรา ขนมถ้วยฟู ข้าวเหนียวแก้ว ขนมลืมกลืน วุ้นผลมะปราง ฯลฯ แสดงให้เห็นว่าคนไทยนิยมทำขนมใช้ในงานบุญ ซึ่งก็เป็นแบบแผนต่อเนื่องกันมาตั้งแต่สมัยอยุธยา

วันพุธที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2554

ขนมไทยภาคใต้ ครับท่าน

ขนมไทยภาคใต้


ชาวใต้มีความเชื่อในเทศกาลวันสารท เดือนสิบ จะทำบุญด้วยขนมที่มีเฉพาะในท้องถิ่นภาคใต้เท่านั้น เช่น ขนมลา ขนมพอง ข้าวต้มห่อด้วยใบกะพ้อ ขนมบ้าหรือขนมลูกสะบ้า ขนมดีซำหรือเมซำ ขนมเจาะหูหรือเจาะรู ขนมไข่ปลา ขนมแดง เป็นต้น

ตัวอย่างของขนมพื้นบ้านภาคใต้ได้แก่

ขนมหน้าไข่ ทำจากแป้งข้าวเจ้านวดกับน้ำตาล นำไปนึ่ง หน้าขนมทำด้วย กะทิผสมไข่ น้ำตาล เกลือ ตะไคร้และหัวหอม ราดบนตัวขนม แล้วนำไปนึ่งอีกครั้ง
ขนมฆีมันไม้ เป็นขนมของชาวไทยมุสลิม ทำจากมันสำปะหลังนำไปต้มให้สุก โรยด้วยแป้งข้าวหมาก เก็บไว้ 1 คืน 1 วันจึงนำมารับประทาน
ขนมจู้จุน ทำจากแป้งข้าวเจ้านวดกับน้ำเชื่อม แล้วเอาไปทอด มีลักษณะเหนียวและอมน้ำมัน

ขนมไทยภาคอีสาน เด้อ

ขนมไทยภาคอีสาน


เป็นขนมที่ทำกันง่ายๆ ไม่พิถีพิถันมากเหมือนขนมภาคอื่น ขนมพื้นบ้านอีสานได้แก่ ข้าวจี่ บายมะขามหรือมะขามบ่ายข้าว ข้าวโป่ง นอกจากนั้นมักเป็นขนมในงานบุญพิธี ที่เรียกว่า ข้าวประดับดิน โดยชาวบ้านนำข้าวที่ห่อใบตอง มัดด้วยตอกแบบข้าวต้มมัด กระยาสารท ข้าวทิพย์ ข้าวยาคู ขนมพื้นบ้านของจังหวัดเลยมักเป็นขนมง่ายๆ เช่น ข้าวเหนียวนึ่งจิ้มน้ำผึ้ง ข้าวบ่ายเกลือ คือข้าวเหนียวปั้นเป็นก้อนจิ้มเกลือให้พอมีรสเค็ม ถ้ามีมะขามจะเอามาใส่เป็นไส้เรียกมะขามบ่ายข้าว น้ำอ้อยกะทิ ทำด้วยน้ำอ้อยที่เคี่ยวจนเหนียว ใส่ถั่วลิสงคั่วและมะพร้าวซอย ข้าวพองทำมาจากข้าวตากคั่วใส่มะพร้าวหั่นเป็นชิ้นๆ และถั่วลิสงคั่ว กวนกับน้ำอ้อยจนเหนียวเทใส่ถาด ในงานบุญต่างๆจะนิยมทำขนมปาด (คล้ายขนมเปียกปูนของภาคกลาง) ลอดช่อง และขนมหมก (แป้งข้าวเหนียวโม่ ปั้นเป็นก้อนกลมใส่ไส้กระฉีก ห่อเป็นสามเหลี่ยมคล้ายขนมเทียน นำไปนึ่ง)

ขนมไทยภาคกลาง

ขนมไทยภาคกลางส่วนใหญ่ทำมาจากข้าวเจ้า เช่น ข้าวตัง นางเยี่ยวเล็ด ข้าวเหนียวมูน และมีขนมที่หลุดลอดมาจากรั้ววัง จนแพร่หลายสู่สามัญชนทั่วไป เช่น ลูกชุบ หม้อข้าวหม้อแกง ฝอยทอง ทองหยิบ ขนมตาล ขนมกล้วย ขนมเผือก เป็นต้น

ขนมไทยแต่ละภาคภาคเหนือ จ้าว

ขนมไทยภาคเหนือ


ส่วนใหญ่จะทำจากข้าวเหนียว และส่วนใหญ่จะใช้วิธีการต้ม เช่น ขนมเทียน ขนมวง ข้าวต้มหัวหงอก มักทำกันในเทศกาลสำคัญ เช่นเข้าพรรษา สงกรานต์

ขนมที่นิยมทำในงานบุญเกือบทุกเทศกาลคือขนมใส่ไส้หรือขนมจ๊อก ขนมที่หาซื้อได้ทั่วไปคือ ขนมปาดซึ่งคล้ายขนมศิลาอ่อน ข้าวอีตูหรือข้าวเหนียวแดง ข้าวแตนหรือข้าวแต๋น ขนมเกลือ ขนมที่มีรับประทานเฉพาะฤดูหนาว ได้แก่ ข้าวหนุกงา ซึ่งเป็นงาคั่วตำกับข้าวเหนียว ถ้าใส่น้ำอ้อยด้วยเรียกงาตำอ้อย ข้าวแคบหรือข้าวเกรียบว่าว ลูกก่อ ถั่วแปะยี ถั่วแระ ลูกลานต้ม

ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน ขนมพื้นบ้านได้แก่ ขนมอาละหว่า ซึ่งคล้ายขนมหม้อแกง ขนมเปงม้ง ซึ่งคล้ายขนมอาละหว่าแต่มีการหมักแป้งให้ฟูก่อน ขนมส่วยทะมินทำจากข้าวเหนียวนึ่ง น้ำตาลอ้อยและกะทิ ในช่วงที่มีน้ำตาลอ้อยมากจะนิยมทำขนมอีก 2 ชนิดคือ งาโบ๋ ทำจากน้ำตาลอ้อยเคี่ยวให้เหนียวคล้ายตังเมแล้วคลุกงา กับ แปโหย่ ทำจากน้ำตาลอ้อยและถั่วแปยี มีลักษณะคล้ายถั่วตัด

การแบ่งตามขนมไทยครับ

การแบ่งประเภทของขนมไทยแบ่งตามวิธีการทำให้สุกได้ดังนี้

ขนมที่ทำให้สุกด้วยการกวน ส่วนมากใช้กระทะทอง กวนตั้งแต่เป็นน้ำเหลวใสจนงวด แล้วเทใส่พิมพ์หรือถาดเมื่อเย็นจึงตัดเป็นชิ้น เช่น ตะโก้ ขนมลืมกลืน ขนมเปียกปูน ขนมศิลาอ่อน และผลไม้กวนต่างๆ รวมถึง ข้าวเหนียวแดง ข้าวเหนียวแก้ว และกะละแม
ขนมที่ทำให้สุกด้วยการนึ่ง ใช้ลังถึง บางชนิดเทส่วนผสมใส่ถ้วยตะไลแล้วนึ่ง บางชนิดใส่ถาดหรือพิมพ์ บางชนิดห่อด้วยใบตองหรือใบมะพร้าว เช่น ช่อม่วง ขนมชั้น ข้าวต้มผัด สาลี่อ่อน สังขยา ขนมกล้วย ขนมตาล ขนมใส่ไส้ ขนมเทียน ขนมน้ำดอกไม้
ขนมที่ทำให้สุกด้วยการเชื่อม เป็นการใส่ส่วนผสมลงในน้ำเชื่อมที่กำลังเดือดจนสุก ได้แก่ ทองหยอด ทองหยิบ ฝอยทอง เม็ดขนุน กล้วยเชื่อม จาวตาลเชื่อม
ขนมที่ทำให้สุกด้วยการทอด เป็นการใส่ส่วนผสมลงในกระทะที่มีน้ำมันร้อนๆ จนสุก เช่น กล้วยทอด ข้าวเม่าทอด ขนมกง ขนมค้างคาว ขนมฝักบัว ขนมนางเล็ด
ขนมที่ทำให้สุกด้วยการนึ่งหรืออบ ได้แก่ ขนมหม้อแกง ขนมหน้านวล ขนมกลีบลำดวน ขนมทองม้วน สาลี่แข็ง ขนมจ่ามงกุฏ นอกจากนี้ อาจรวม ขนมครก ขนมเบื้อง ขนมดอกลำเจียกที่ใช้ความร้อนบนเตาไว้ในกลุ่มนี้ด้วย
ขนมที่ทำให้สุกด้วยการต้ม ขนมประเภทนี้จะใช้หม้อหรือกระทะต้มน้ำให้เดือด ใส่ขนมลงไปจนสุกแล้วตักขึ้น นำมาคลุกหรือโรยมะพร้าว ได้แก่ ขนมถั่วแปบ ขนมต้ม ขนมเหนียว ขนมเรไร นอกจากนี้ยังรวมขนมประเภทน้ำ ที่นิยมนำมาต้มกับกะทิ หรือใส่แป้งผสมเป็นขนมเปียก และขนมที่กินกับน้ำเชื่อมและน้ำกะทิ เช่น กล้วยบวชชี มันแกงบวด สาคูเปียก ลอดช่อง ซ่าหริ่ม

กล้วยบวชชี น่าทานแน่นอนครับ

สูตรขนมหวานไทย : กล้วยบวดชี


เครื่องปรุง + ส่วนผสม
* กล้วยน้ำว้า 8 ลูก (เลือกห่ามๆ ไม่สุกมาก)
* หัวกะทิ 450 มิลลิลิตร
* หางกะทิ 500 มิลลิลิตร
* ใบเตย 2 ใบ
* น้ำตาลปี๊บ 40 กรัม
* น้ำตาลทรายขาว 40 กรัม
* เกลือ
วิธีทำขนมไทย ทีละขั้นตอน

1. นำกล้วยไปนึ่งในน้ำเดือดประมาณ 3-5 นาที หรือนึ่งจนกระทั่งผิวกล้วยเริ่มแตกออก จึงปิดไฟและนำออกมาปอกเปลือกและหั่นครึ่งลูก จากนั้นจึงหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ

2. นำหางกะทิไปต้มในหม้อและใส่ใบเตยลงไปด้วย เมื่อเดือดแล้วจึงใส่กล้วยที่หั่นไว้แล้วลงไป ตามด้วยน้ำตาลปี๊บ, น้ำตาลทรายขาวและเกลือนิดหน่อย

3. เมื่อกะทิเริ่มเดือดอีกครั้งจึงใส่หัวกะทิลงไป และปล่อยทิ้งไว้ให้เดือดอีกประมาณ 3 นาที ถ้าต้องการให้น้ำข้นเหนียวก็ให้ใส่แป้งมันลงไปประมาณ 1 ช้อนชาและคนให้ละลายทั่ว

4. อย่าต้มนานจนเกินไปเพราะจะทำให้กล้วยเละ กล้วยควรจะยังแข็งนิดหน่อย จากนั้นตักใส่จานและเสริฟทันที

ลูกโตๆครับ สังขยาฟักทอง

สูตรขนมหวานไทย : สังขยาฟักทอง


เครื่องปรุง + ส่วนผสม
* ฟักทอง 1 ลูก (น้ำหนักประมาณ 400 - 600 กรัม)
* ไข่่ 4 ฟอง
* หัวกะทิ 3/4 ถ้วยตวง
* น้ำตาลปิ๊บ 1/4 ถ้วยตวง
* แป้งข้าวเจ้า 2 ช้อนโต๊ะ
* เกลือป่น 1/4 ช้่อนชา
* น้ำปูนใส

วิธีทำขนมไทย ทีละขั้นตอน

1. นำฟักทองมาตัดออกเป็นสี่เหลี่ยมบริเวณหัวขั้วจากนั้นจึงขวักเมล็ดข้างในออก จนกลวงเป็นช่องภายใน จากนั้นจึงนำไปน้ำปูนใสประมาณ 8 - 10 นาที แล้วจึงนำออกมาสะเด็ดน้ำ (เคล็ดลับ : แช่น้ำปูนใสเพื่อไม่ให้ฟักทองแตกเวลานึ่ง)

2. ระหว่างรอฟักทองที่แช่ในน้ำปูนใส เตรียมทำสังขยาโดยผสมไข่ไก่, หัวกะทิ , แป้งข้าวเจ้า, น้ำตาลปิ๊บ และเกลือ คนจนส่วนผสมเข้ากันดี

3. นำส่วนผสมสังขยาที่ทำในขั้นตอนที่สองเทลงในฟักทอง จากนั้นจึงนำไปนึ่งประมาณ 20 - 25 นาที กรณีเสริฟเป็นลูกฟักทอง ก็นำฝาที่ตัดออกไปนึ่งด้วย ถ้าแบ่งเสริฟก็หั่นเป็นชิ้นๆ เพื่อความสวยงามและน่ารับประทาน เวลาหั่นควรระวังไม่ให้สังขยาเละ

ขนมวุ้นสังขยา แสนหวานครับ

สูตรขนมหวานไทย : ขนมวุ้นสังขยา


เครื่องปรุง + ส่วนผสม
* วุ้นผง 10 กรัม
* น้ำลอยดอกมะลิ 450 กรัม
* น้ำตาลทราย 150 กรัม
* หัวกะทิ 100 กรัม
* ไข่ไก่ 2 ฟอง
* ใบเตย

วิธีทำขนมไทย ทีละขั้นตอน

1. ผสมหัวกะทิกับน้ำตาลและไข่ไก่ โดยใช้ใบเตยขยำให้ส่วนผสมเข้ากัน และน้ำตาลละลาย จากนั้นนำไป กรองด้วยผ้าขาวบางเพื่อเอาสิ่งสกปรกออก

2. ตั้งกระทะทองเหลืองบนไฟอ่อนๆ ใส่น้ำลอยดอกมะลิและวุ้นผงลงไป คนจนละลายเข้ากันดี จากนั้นจึง ใส่ส่วนผสมไข่กะทิ (ที่เตรียมไว้ในขั้นตอนที่ 1 ลงไป) เร่งไฟให้แรงขึ้น รอจนส่วนผสมเดือด คนส่วนผสม ต่อเนื่องจนวุ้นมีลักษณะเหนียวเป็นยางมะตูม จึงปิดไฟ

3. เทส่วนผสมวุ้นสังขยาลงในแบบหรือพิมพ์ที่เตรียมไว้ ทิ้งไว้ให้หายร้อนสักพัก จึงใส่ตู้เย็น

4. เคาะวุ้นออกจากแบบ จัดใส่จานเสริฟ พร้อมรับประทานได้ทันที (ถ้ายังไม่รับประทาน ควรเก็บ ไว้ในตู้เย็นก่อน)

ขนมเปียกปูน แสนอร่อย

สูตรขนมหวานไทย : ขนมเปียกปูน

เครื่องปรุง + ส่วนผสม
* แป้งข้าวเจ้า 2 ถ้วยตวง
* แป้งเท้ายายม่อม 2 ช้อนโต๊ะ
* น้ำตาลมะพร้าว 400 กรัม
* น้ำกาบมะพร้าวเผา 3/4 ถ้วยตวง
* น้ำกะทิ 1 ถ้วยตวง
* น้ำปูนใส 4 ถ้วยตวง
* เนื้อมะพร้าวฝอย 1 1/2 ถ้วย
(คลุกเกลือนิดหน่อย ไว้สำหรับโรยหน้า)

วิธีทำขนมไทย ทีละขั้นตอน

1. นำกาบมะพร้าวไปเผาไฟพอไหม้นิดหน่อยจึงนำไปจุ่มลงในน้ำสะอาด ทิ้งไว้ให้กาบมะพร้าวแห้ง จึงนำไปโขลกให้ละเอียด และร่อนจนได้ผงละเอียด แล้วจึงนำไปผสมกับน้ำสะอาด 3/4 ถ้วยตวง

2. ผสมแป้งข้าวเจ้าและ แป้งเท้ายายม่อม กับน้ำกะทิ, น้ำปูนใส, น้ำกาบมะพร้าว (ที่ทำในขั้นตอนที่ 1)และ น้ำตาลมะพร้าว ผสมจนทุกอย่างละลายเข้ากันดีจึงนำไปกรองด้วยผ้าขาวบาง

3. เมื่อกรองเสร็จแล้ว เทส่วนผสมลงในกระทะทองเหลือง (หรือกระทะเทฟลอนก็ได้) นำไปตั้งไฟกวนโดยใช้ไฟแรง กวนสักพักพอแป้งจับตัวกันเป็นก้อน จึงลดไฟลงและ กวนต่อจนส่วนผสมข้นและเหนียว จึงเทใส่ถาดเกลี่ยหน้าให้เรียบหรือเทใส่แบบพิมพ์ที่เตรียมไว้

4. ถ้าเทใส่ถาด รอจนส่วนผสมเย็นจึงตัดเป็นชิ้น โรยด้วยเนื้อมะพร้าวฝอย ตักเป็นชิ้นใส่จานเสริฟ หรือเสริฟทั้งถาดแล้วแต่ความเหมาะสม

สุดยอดแห่งความหวานครับทุกคน ทองหยิบ

สูตรขนมหวานไทย : ขนมทองหยิบ


เครื่องปรุง + ส่วนผสม

* ไข่เป็ด 8 ฟอง (ใช้เฉพาะไข่แดง)
* น้ำเปล่า 6 ถ้วยตวง
* น้ำตาลทราย 3 ถ้วยตวง

(เคล็ดลับ : อัตราส่วนมาตรฐานทั่วไป
น้ำ 1 ส่วน : น้ำตาล 1/2 ส่วน)

วิธีทำขนมไทย ทีละขั้นตอน

1. ผสมน้ำเปล่าและน้ำตาลทรายลงในกระทะทองเหลือง นำไปตั้งบนไฟอ่อนจนละลายปิดไฟ ทิ้งไว้ให้เย็นนำไปกรองด้วย ผ้าขาวบางหนึ่งครั้ง

2. นำน้ำเชื่อมที่กรองแล้วไปตั้งบนไฟร้อนปานกลาง กะพอให้น้ำเชื่อมร้อนจัดแต่ไม่ให้เดือดพล่าน

3. ใส่ไข่แดงลงในถ้วย ตีจนขึ้นฟู เมื่อน้ำเชื่อมร้อนได้ที่ ใช้ช้อนตักไข่แดงที่ตีจนฟู หยอดลงในน้ำเชื่อม ไข่จะแผ่เป็นวงกลม ใช้ช้อนกลับหน้าสักครั้งเพื่อให้สุกทั่วทั้งสองด้าน จากนั้นจึงตักขึ้น

4. รอจนหายร้อน จึงจับจีบโดยใช้นิ้วมือหยิบ 5 หยิบแล้วใส่ลงในถ้วยตะไลหรือแบบพิมพ์ที่เตรียมไว้

ขนมสาคูเปียกมะพร้าวอ่อน สำหรับทุกๆคนครับผม

สูตรขนมหวานไทย : ขนมสาคูเปียกมะพร้าวอ่อน


เครื่องปรุง + ส่วนผสม
* สาคู 200 กรัม
* น้ำตาลทราย 250 กรัม
* เนื้อมะพร้าวอ่อนหั่นเป็นชิ้น 100 กรัม
* น้ำเปล่า 900 กรัม
* หัวกะทิ 100 กรัม
* เกลือป่น 1/4 ช้อนชา
* แป้งข้าวเจ้า 1/2 ช้อนชา

วิธีทำขนมไทย ทีละขั้นตอน

1. นำน้ำเปล่าใส่ลงในหม้อและตั้งบนไฟร้อนปานกลาง ขณะรอน้ำเดือดนำสาคูไปล้างในน้ำเปล่าอย่างรวดเร็ว

2. เมื่อน้ำเดือด จึงใส่สาคูลงในหม้อ คนอย่างรวดเร็วเพื่อไม่ให้เม็ดสาุคูเกาะตัวกัน ต้มจนเกือบสุก โดยเม็ดสาคูจะมีลักษณะใส จะเหลือจุดขาวๆภายในเม็ดสาคู

3. ใส่น้ำตาลทรายลงไปในหม้อ คนจนน้ำตาลละลายจึงใส่เนื้อมะพร้าวอ่อนลงไป คนให้เข้ากันอีกครั้งจึงปิดไฟ

4. ทำน้ำราดกะทิ โดยใส่น้ำกะทิ, แป้งข้าวเจ้าและเกลือลงในหม้อเล็ก ตั้งบนไฟอ่อนๆจนเข้ากันดี ปิดไฟและพักไว้

5. ตักสาคูมะพร้าวอ่อนใส่ถ้วย ราดหน้าด้วยน้ำกะทิ พร้อมเสริฟรับประทานได้ทันที

ขนมครกน่าทานครับผม

สูตรขนมหวานไทย : ขนมครก


เครื่องปรุง + ส่วนผสมขนมหวานไทย

+ ส่วนผสมทำตัวแป้ง +

* แป้งข้าวเจ้า 1 ถ้วยตวง
* ข้าวสุก 1/2 ถ้วยตวง
* น้ำสะอาด 2 ถ้วยตวง
* มะพร้าวขูด 1/2 ถ้วยตวง
* เกลือป่น 1 ช้อนชา
* มันหมูห่อผ้าขาว (เช็ดหลุมเตาก่อนหยอดตัวแป้ง, อาจใช้น้ำมันพืชแทนได้)
* ต้นหอมซอย, เมล็ดข้าวโพด, เผือก, ฟักทอง (สำหรับโรยหน้าขนมครก)
+ ส่วนผสมทำกะทิหยอดหน้า +
* หัวกะทิ 1 ถ้วยตวง
* น้ำตาลทราย 1/2 ถ้วยตวง
* เกลือป่น 1 ช้อนชา


วิธีทำขนมไทย ทีละขั้นตอน

1. ทำตัวแป้งก่อน โดยเอาข้าวสารซาวให้สะอาด ผสมกับข้าวสุก, แป้งข้าวเจ้า, มะพร้าว และเกลือ ใส่กาละมังพักไว้

2. ต้มน้ำให้เดือด แล้วเอามาผสมในกาละมังที่ใส่ส่วนผสมไว้ ใช้ไม้พายคนให้ส่วนผสมทั้งหมดเข้ากันทั่ว

3. ทิ้งไว้ให้เย็น แล้วเอาไปโม่ก็จะได้แป้งขนมครกตามต้องการ

4. ทำกะทิหยอดหน้าโดยผสมหัวกะทิ, น้ำตาลทรายและเกลือป่นเข้าด้วยกัน เสร็จแล้วพักไว้

5. วิธีทำ นำกระทะหลุมที่เตรียมไว้ตั้งไฟจนร้อนได้ที่ จึงเช็ดหลุมด้วยน้ำมันจากนั้นจึงหยอดแป้งลงไป (อย่าหยอดจนเต็ม เพราะต้องหยอดหน้ากะทิภายหลัง) ปิดฟาทิ้งไว้จวนสุกจึงเปิดฝาออกและหยอดด้วยหน้ากะทิที่เตรียมไว้ ถ้ามีต้นหอมหรืออย่างอื่นเพิ่มเติมก็โรยลงบนหน้ากะทิ ปิดฝารอสักพักจนสุกจึงแคะออก ควรทานขณะร้อนจะรสชาตดีกว่าทิ้งไว้จนเย็น

บัวลอย ครับผม

สูตรขนมหวานไทย : บัวลอย


เครื่องปรุง + ส่วนผสม
+ส่วนผสมบัวลอย+

* แป้งข้าวเหนียว 2 ถ้วยตวง
* เผือกนึ่งสุกบดละเอียด 1 ถ้วยตวง (กรณีต้องการบัวลอยหลายสีสามารถเลือกใช้ฟักทอง เพื่อทำบัวลอยสีเหลือง, ใบเตย เพื่อทำบัวลอยสีเขียว, อื่นๆ)
* น้ำเปล่า 1/4 ถ้วยตวง

+ส่วนผสมน้ำกะทิ+
* กะทิ 2 ถ้วยตวง
* น้ำตาลมะพร้าว 100 กรัม
* น้ำตาลทราย 1 ถ้วยตวง
* เกลือป่น 1 ช้อนชา
* เนื้อมะพร้าวอ่อน, ไข่ (จะมีหรือไม่มีก็ได้)
* งาขาว (สำหรับแต่งหน้า จะมีหรือไม่มีก็ได้)

วิธีทำขนมไทย ทีละขั้นตอน

1. ทำบัวลอยโดยผสมแป้งข้าวเหนียว, เผือกนึ่งและน้ำเปล่าเข้าด้วยกัน นวดจนส่วนผสมทุกอย่างเข้ากันเป็นเนื้อเดียว จากนั้นจึงนำมาปั้นเป็นลูกกลมๆ ระหว่างปั้นนั้น ควรโรยด้วยเศษแป้งข้าวเหนียวเล็กน้อยเพื่อป้องกันไม่ให้ลูกบัวลอยติดกัน (ถ้าต้องการทำบัวลอยหลายสีก็ใช้ส่วนผสมเพิ่ม ไม่ว่าจะเป็นฟักทองสำหรับสีเหลือง หรือใบเตยสำหรับสีเขียว เป็นต้น)

2. ต้มน้ำในหม้อขนาดกลาง รอจนเดือดจึงใส่ลูกบัวลอยที่ปั้นไว้แล้ว เมื่อบัวลอยสุกให้นำออกมาแช่ในน้ำเย็น (บัวลอยที่สุกแล้วจะลอยขึ้น)

3. ทำน้ำกะทิโดยผสม กะทิ, น้ำตาลมะพร้าว, น้ำตาลทรายและเกลือป่นลงไป ควรใส่น้ำตาลทรายแค่ครึ่งเดียวก่อน ถ้ายังหวานไม่พอจึงค่อยใส่เพิ่มลงไป ต้มจนเดือด จึงหรี่ไฟลง นำบัวลอยที่ต้มไว้แล้วใส่ลงไปในน้ำกะทิ ต้มต่ออีกสักพักจึงปิดไฟ ถ้ามีมะพร้าวอ่อนก็ใส่ได้เลย พร้อมลูกบัวลอย (กรณีต้องการทำบัวลอยไข่หวาน ก็ตอกไข่ใส่ไปในหม้อหลังจากที่ใส่บัวลอยลงไป รอจนไข่สุกจึงปิดไฟ)

4. ตักใส่ถ้วย โรยหน้าด้วยงาขาว เสริฟขณะร้อนหรือรอให้เย็นก็ได้

วันอาทิตย์ที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2554

ประวัติขนมไทยของเรา


ประวัติความเป็นมาของขนมไทยในสมัยโบราณคนไทยจะทำขนมเฉพาะวาระสำคัญเท่านั้น เป็นต้นว่างานทำบุญ เทศกาลสำคัญ หรือต้อนรับแขกสำคัญ เพราะขนมบางชนิดจำเป็นต้องใช้กำลังคนอาศัยเวลาในการทำพอสมควร ส่วนใหญ่เป็น ขนบประเพณี เป็นต้นว่า ขนมงาน เนื่องในงานแต่งงาน ขนมพื้นบ้าน เช่น ขนมครก ขนมถ้วย ฯลฯ ส่วนขนมในรั้วในวังจะมีหน้าตาจุ๋มจิ๋ม ประณีตวิจิตรบรรจงในการจัดวางรูปทรงขนมสวยงาม

ขนมไทยดั้งเดิม มีส่วนผสมคือ แป้ง น้ำตาล กระทิ เท่านั้น ส่วนขนมที่ใช้ไข่เป็นส่วนประกอบ เช่น ทองหยิบ ทองหยอด เม็ดขนุน นั้น มารี กีมาร์ เดอ ปีนา (ท้าวทองกีบม้า)หญิงสาวชาวโปรตุเกส เป็นผู้คิดค้นขึ้นมา

ขนมไทยที่นิยมทำกันทุกๆ ภาคของประเทศไทย ในพิธีการต่างๆ เนื่องในการทำบุญเลี้ยงพระ ก็คือขนมจากไข่ และมักถือเคล็ดจากชื่อและลักษณะของขนมนั้นๆ งานศิริมงคลต่างๆ เช่น งานมงคลสมรส ทำบุญวันเกิด หรือทำบุญขึ้นบ้านใหม่ ส่วนใหญ่ก็จะมีการเลี้ยงพระกับแขกที่มาในงาน เพื่อเป็นศิริมงคลของงานขนมก็จะมีฝอยทอง เพื่อหวังให้อยู่ด้วยกันยืดยาว มีอายุยืน ขนมชั้นก็ให้ได้เลื่อนขั้นเงินเดือน ขนมถ้วยฟูก็ขอให้เฟื่องฟู ขนมทองเอกก็ขอให้ได้เป็นเอก เป็นต้น

สมัยรัตนโกสินทร์ จดหมายเหตุความทรงจำของกรมหลวงนรินทรเทวี กล่าวไว้ว่าในงานสมโภชพระแก้วมรกตและฉลองวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ได้มีเครื่องตั้งสำรับหวานสำหรับพระสงฆ์ 2,000 รูป ประกอบด้วย ขนมไส้ไก่ ขนมฝอย ข้าวเหนียวแก้ว ขนมผิง กล้วยฉาบ ล่าเตียง หรุ่ม สังขยา ฝอยทอง และขนมตะไล

ในสมัยรัชกาลที่ 5 มีการพิมพ์ตำราอาหารออกเผยแพร่ รวมถึงตำราขนมไทยด้วย จึงนับได้ว่าวัฒนธรรมขนมไทยมีการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรครั้งแรก ตำราอาหารไทยเล่มแรกคือแม่ครัวหัวป่าก์ เขียนโดยท่านผู้หญิงเปลี่ยน ภาสกรวงศ์ ในหนังสือเล่มนี้ มีรายการสำรับของหวานเลี้ยงพระได้แก่ ทองหยิบ ฝอยทอง ขนมหม้อแกง ขนมหันตรา ขนมถ้วยฟู ขนมลืมกลืน ข้วเหนียวแก้ว วุ้นผลมะปราง

ในสมัยต่อมาเมื่อการค้าเจริญขึ้นในตลาดมีขนมนานาชนิดมาขาย ทั้งขายอยู่กับที่ แบกกระบุง หาบเร่ และมีการปรับปรุงการบรรจุหีบห่อไปตามยุคสมัย เช่นในปัจจุบันมีการบรรจุในกล่องโฟมแทนการห่อด้วยใบตองในอดีต[1]

วันศุกร์ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2554

ของไทยเรา

ความเป็นมาของการแกะสลัก
การแกะสลักผักและผลไม้เริ่มปรากฎในวังมาก่อนตั้งแต่สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ปรากฎร่องรอยตามพระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เช่น กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่ชมผลไม้ บทละครเรื่องสังข์ทอง เป็นต้น
การแกะสลักผักและผลไม้ บางทีเรียกว่า การทำเครื่องสด เป็นงานที่ต้องอาศัยความประณีต อดทน และละเอียดอ่อนในการทำ เป็นศิลปวัฒนธรรมที่มีมาแต่สมัยโบราณ จัดเป็นศิลปะประจำชาติซึ่งควรค่าแก่การส่งเสริมและอนุรักษ์ไว้เป็นสมบัติของชาติ เพื่อให้คนรุ่นหลังได้ศึกษาหาความรู้และมีความภาคภูมิใจในภูมิปัญญาของบรรพบุรุษ ตลอดจนสามารถสร้างสรรค์งานแขนงนี้สืบไป

อุปกรณ์การแกะสลัก
1.มีดบางใช้ปอก เกลา ปาดผลไม้เพื่อเตรียมแกะสลัก
2.มีดแกะสลักหรือมีดคว้านปลายแหลมเรียวเล็ก คมบาง ใช้สำหรับคว้านแกะสลักเซาะ
ให้เป็นร่อง
3.หินลับมีดหรือกระดาษทรายละเอียดใช้สำหรับลับมีดเพื่องานแกะสลัก
4.ผ้าเช็ดมือ และผ้ากันเปื้อน

วันเสาร์ที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ประวัติอาหารไทย

ประวัติอาหารไทย
คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...

อาหารไทยขึ้นชื่อได้ว่ามีประวัติมาช้านาน ผู้คนส่วนใหญ่ทั้งในและต่างประเทศ
ต่างนิยมชมชอบในอาหารไทยกันมากมาย โดยเฉพาะชื่อเสียงในด้านความเข้มข้น
และจัดจ้านของรสอาหารที่ติดปากติดใจผู้คนมานับศตวรรษโดยส่วนใหญ่อาหารไทย
จะมีวิธีการประกอบอย่างง่ายๆ และ ใช้เวลาในการทำไม่มากนักโดยเฉพาะทุกครัวเรือน
ของคนไทย จะมีส่วนประกอบอาหารติดอยู่ทุกครัวเรือนไม่ว่าจะเป็น

พริก แห้ง กุ้งแห้ง น้ำปลา กะปิ ส้มมะขาม กระเทียม หัวหอมตลอด จนปลาบ้าง รวมทั้งส่วนประกอบอาหาร
จำพวกผัก และเนื้อสัตว์นานาชนิด เพราะมีวิธี
นำมาประกอบที่มีด้วยกันหลายรูปแบบไม่ ว่าจะเป็น
แกง ต้ม ผัด ยำ รวมทั้งอาหารไทยได้รับอิทธิพลใน
การปรุงอาหารรวมทั้งรูปแบบในการรับประทานอาหาร
ตั้งแต่ อดีต อาทิการนำเครื่องเทศมาใช้ในการประกอบ
อาหารก็ได้รับ อิทธิพลมาจากเปอร์เชียผ่านอินเดีย

หรืออาหารจำพวกผัดก็ได้ รับอิทธิพลมาจากประเทศจีน เป็นต้น เมนูอาหารไทยที่ขึ้นชื่อ
ลือชาหลายชนิดจึงประกอบไปด้วยอาหารมากมายกว่า 255 ชนิดอาหารไทยถือว่ามี
ีลักษณะพิเศษ เนื่องจากประเทศไทยเป็นอู่ข้าว อู่น้ำ มีอาหารตามธรรมชาติที่มีพิเศษ
ตามภูมิอากาศ และภูมิประเทศที่หลากหลายตลอดทั้งปีรวมทั้งคนไทยมีศิลปะอยู่ใน
สายเลือดอยู่แล้ว จึงแสดงออกซึ่งศิลปะวิทยาของคนในรูปแบบการปรุงแต่งและการกิน
อาหารที่มีลักษณะเฉพาะ ตั้งแต่เรื่องการผสมกลมกลืนในการปรุงแต่งรูป รส กลิ่น
ให้กลมกล่อมอร่อยและรสจัดอย่างโดดเด่นเป็นพิเศษในเรื่องการจัดรูปแบบและ

Free Image Hosting @ Photobucket.com!

การแกะสลัก

การแกะสลัก ตบแต่งสีสันสวยงามวิจิตรบรรจง
ในเรื่องการผสมสานทางคุณค่าอาหารและทางยา
เพื่อให้เกิดผลดีต่อสุขภาพสูงสุดทั้งในแง่การป้องกัน
การบำรุงและการรักษา ตลอดจนการใช้อาหารเป็น
เครื่องแสดงความผูกพันในหมู่ญาติมิตรและเป็นเครื่อง
แสดงฐานะทางสังคมรวมทั้งการใช้อาหารเป็นสื่อ
ทางความเชื่อและพิธีกรรมต่างๆ

อาหารไทย

Free Image Hosting @ Photobucket.com!

เป็นอาหารที่ประกอบด้วยรสเข้มข้นมีเครื่องปรุงหลายอย่างรสชาติอาหาร
แต่ละอย่างมีรสเฉพาะตัวการใช้เครื่องปรุงรสต่างๆก็ไม่เหมือนกันผู้ประกอบอาหารไทยต้อง
ศึกษาจากตำราอาหารไทยและผู้เชี่ยวชาญการทำอาหารไทยให้อร่อยต้องใช้ความชำนาญ
และประสบการณ์ตลอดจนกรรมวิธีในการประกอบอาหารไทยผู้ทำจะต้องพิถีพิถัน ประณีต
มีขั้นตอนเพื่อให้อาหารน่ารับประทานรสชาติของอาหารไทย
การทำอาหารไทย ผู้ประกอบอาหารจะทำให้ได้ผลดีต้องขึ้นอยู่ที่การฝึกฝนและ
รู้วิธีการทำอาหาร รู้จักดัดแปลงตกแต่งอาหารชนิดต่าง ๆ ให้สะดุดตาสะดุดใจ
ต่อผู้ได้พบเห็นทำให้เกิดความอยากรับประทานอาหาร เมื่อรับประทานแล้วจะต้องติดใจ
ในรสชาติ และกลิ่นของอาหาร การทำอาหาร ผู้ทำจึงควรหมั่นฝึกฝนจนเกิดความชำนาญ
เพื่อให้มีประสบการณ์ต่ออาหารชนิดนั้นๆและเพื่อเป็นการปูพื้นฐานความรู้เรื่องอาหาร
ประเทศไทยมีภูมิภาคท้องถิ่นที่แตกต่างกันมากมายทำให้สภาพความเป็นอยู่ของ
ประชาชนในแต่ละชุมชนมีวิถีชีวิตที่แตกต่างกันโดยรวมถึงอาหารการกินด้วยอาหารของ
แต่ละภูมิภาคย่อมมีเอกลักษณ์ที่แตกต่างกันออกไป
Free Image Hosting @ Photobucket.com!


อาหารไทยแท้

คืออาหารที่คนไทยทำกันมาแต่โบราณ ส่วนมากเป็นแบบง่ายๆ เช่น ข้าวแช่ ต้มโคล้ง แกงป่า น้ำพริก เป็นต้น และหลน
ขนมไทยแท้ก็ปรุงมาจากแป้ง น้ำตาล กะทิเป็นส่วนใหญ่ เช่น ขนมเปียกปูน ขนมเปียกอ่อน ตะโก้ ลอดช่อง เป็นต้น และถ้าใส่ไข่ ส่วนมากมักจะเป็นขนมไทยที่รับมาจากชาติอื่น


Free Image Hosting @ Photobucket.com!

อาหารไทยแปลง

คืออาหารไทยที่แต่งแปลงมาจากเทศ หรือ
อาหารไทยที่รับมาจากต่างประเทศ บางชนิด
คนไทยคุ้นเคย จนไม่รู้สึกว่าเป็นของชาติอื่นเช่น แกงกะหรี่ แกงมัสมั่น ที่จริงนั้นดัดแปลงมาจาก
ของอินเดีย และแกงจืดต้มจืดทั้งหลายก็ดัดแปลงมา
จากอาหารจีน เป็นต้น
อาหารหวานหรือขนมหลายอย่าง ได้รับการ
ถ่ายทอดมาจากชาวยุโรปที่เข้ามาในประเทศไทย ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา เช่น ทองหยิบ ทองหยอด
ทองโปร่ง ฝอยทอง และ สังขยาเป็นต้น

Free Image Hosting @ Photobucket.com!

Free Image Hosting @ Photobucket.com!
คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...

รวมเด็ดอาหารไทยไทย4ภาคครับผม

ของไทยอาหารไทยเพื่อสุขภาพ
1. รับประทานอาหารให้ครบห้าหมู่ แต่ละหมู่ให้หลากหลายและหมั่นดูแลน้ำหนักตัวให้เป็นปกติ
2. รับประทานข้าวเป็นอาหารหลัก ข้าวควรรับประทานเป็นข้าวกล้อง หรือข้าวซ้อมมือ
3. รับประทานพืชผักผลไม้เป็นประจำ
4. รับประทานปลาและเนื้อสัตว์ที่ไม่ติดมัน ไข่ และถั่วเมล็ดแห้งเป็นประจำ ดื่มนมให้เหมาะสมตามวัย
5. รับประทานที่มีไขมันแต่พอควร
6. หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีรสหวานจัดและเค็มจัด
7. หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารถนอม เช่น อาหารหมักดองอาหารกระป๋อง
8. งดหรือลดเครื่องดื่มที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ เช่น เครื่องดื่มแอลกอฮอล์



วันศุกร์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

อาหารไทยไทย ตามภาคต่างๆ

อาหารไทยไทยทางภาคใต้ครับ


ภาคใต้... เป็นภาคที่มีพื้นที่ติดชายฝั่งทะเลมากที่สุด ลักษณะภูมิประเทศ เป็นแหลมที่ยื่นลงไปในทะเล
ผู้คนที่อาศัยในดินแดนแถบนี้จึงนิยมทำการประมง เพราะมีทรัพยากรในท้องทะเลมากมาย เมื่ออาศัยอยู่ชายทะเล
อาชีพเกี่ยวข้องกับทะเล อาหารหลักในการดำรงชีวิตจึงเป็นอาหารทะเล




อาหารส่วนใหญ่ของคนภาคใต้ มักเกี่ยวข้องกับปลา และสิ่งอื่น ๆ จากท้องทะเล อาหารทะเลหรือปลา
โดยธรรมชาติจะมีกลิ่นคาวจัด อาหารภาคใต้จึงไม่พ้นเครื่องเทศ โดยเฉพาะขมิ้นดูจะเป็นสิ่งที่แทบจะขาด
ไม่ได้เลย เพราะช่วยในการดับกลิ่นคาวได้ดีนัก ฉะนั้นจะเห็นได้ว่าอาหารปักษ์ใต้จะมีสีออกเหลือง ๆ แทบ
ทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นแกงไตปลา แกงส้ม แกงพริก ปลาทอด ไก่ทอด ก็มีขมิ้นกันทั้งสิ้น และมองในอีกด้านหนึ่ง
คงเป็นวัฒนธรรมการกินที่ผสมผสานกลมกลืนกันระหว่างชาวไทยพุทธและชาวไทยมุสลิมในภาคใต้นั่นเอง




เพราะชีวิตของคนภาคใต้ เกี่ยวข้องกับทะเล เมื่อออกทะเลหาอาหารมาได้มากเกิดรับประทานให้หมดใน
หนึ่งมื้อได้ คนภาคใต้จึงนำอาหารที่ได้จากทะเลมาทำการถนอมอาหาร เช่น กุ้งส้ม ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้กุ้งแตะ
ซึ่งจะมีสีเขียว งชนิดนี้เมื่อนำมาทำเป็นกุ้งส้ม สีจะออกแดง ๆ และมีรสเปรี้ยว การทำกุ้งส้มนั้น นำกุ้งมาหมักกับ
เกลือ น้ำตาลทราย หมักทิ้งไว้ประมาณ 7 วันจนมีรสเปรี้ยว จึงนำมาทำอาหารรับประทานได้






ö ปลาขี้เสียดแห้ง คือการนำปลาสีเสียดมาใส่เกลือจนทั่วตัวปลา แล้วตากแดดให้แห้ง เก็บไว้รับประทานได้นาน
ö ปลาแป้งแดง คือการนำปลาโคบ หมักกับข้าวสุก เกลือ ใส่สีแดง หมักทิ้งไว้ 3-4 วัน จึงนำมาปรุงอาหารได้

ö ปลาเค็ม คือ การนำปลามาหมักกับเกลือ เมื่อก่อนชาวประมงออกหาปลา พอได้ปลามากก็หมักกับเกลือบนเรือ
ครั้นเรือเข้าฝั่งก็จะได้ปลาเค็มไว้รับประทาน

ö กุ้งแห้ง คือ การนำกุ้งที่ได้มาเคล้ากับเกลือ แล้วตากแดดให้แห้ง เก็บไว้รับประทานได้นาน

ö น้ำบูดู ได้จากการหมักปลาตัวเล็ก ๆ กับเกลือเม็ด โดยหมักไว้ในโอ่ง ไห หรือถังซีเมนต์ แล้วปิดฝาผนึกอย่างดี
ตากแดดทิ้งไว้ 2-3 เดือน หรือเป็นปี จึงนำมาใช้ได้ บูดูมีทั้งชนิดหวานและชนิดเค็ม ชนิดหวาน ใช้คลุกข้าวยำ
ปักษ์ใต้ ชนิดเค็ม ใช้ปรุงอาหารประเภทน้ำพริก เครื่องจิ้ม


อาหารไทยไทย ตามภาคต่างๆ

อาหารภาคกลางลักษณะอาหารพื้นบ้านภาคกลางมีที่มาต่างกันดังนี้

1.ได้รับอิทธิพลจากต่างประเทศ เช่น เครื่องแกง แกงกะทิ จะมาจากชาวฮินดู การผัดโดยใช้กระทะและน้ำมันมาจากประเทศจีนหรือขนมเบื้องไทย ดัดแปลงมาจาก ขนมเบื้องญวน ขนมหวานประเภททองหยิบ ทองหยอดรับอิทธิพลจากประเทศทางตะวันตก เป็นต้น
2.เป็นอาหารที่มักมีการประดิษฐ์ โดยเฉพาะอาหารจากในวังที่มีการคิดสร้างสรรค์อาหารให้เลิศรส วิจิตรบรรจง เช่น ขนมช่อม่วง จ่ามงกุฎ หรุ่ม ลูกชุบ กระเช้าสีดา ทองหยิบ หรืออาหารประเภทข้าวแช่ ผัก ผลไม้แกะสลัก
3.เป็นอาหารที่มักจะมีเครื่องเคียง ของแนม เช่น น้ำพริกลงเรือ ต้องแนมด้วยหมูหวานแกงกะทิ แนมด้วยปลาเค็ม สะเดาน้ำปลาหวานก็ต้องคู่ กับกุ้งนึ่งหรือปลาดุกย่าง ปลาสลิดทอดรับประทานกับน้ำพริกมะม่วง หรือไข่เค็มที่มักจะรับประทานกับน้ำพริกลงเรือ น้ำพริกมะขามสดหรือน้ำพริกมะม่วง นอกจากนี้ยังมีของแนมอีกหลายชนิด เช่น ผักดอง ขิงดอง หอมแดงดอง เป็นต้น
4.เป็นภาคที่มีอาหารว่าง และขนมหวานมากมาย เช่น ข้าวเกรียบปากหม้อ กระทงทอง ค้างคาวเผือก ปั้นขลิบนึ่ง ไส้กรอกปลาแนม ข้าวตังหน้าตั้ง


Free Image Hosting @ Photobucket.com!